ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จักรพรรดินโปเลียนที่ 2

นโปเลียน ฟร็องซัว ชาร์ล โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Napol?on Fran?ois Charles Joseph Bonaparte; 20 มีนาคม พ.ศ. 2354 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2365) ดำรงพระอิสริยยศเจ้าชายแอ็งเปรียาล (Prince Imperial) พระมหากษัตริย์แห่งโรม และเจ้าชายแห่งปาร์มา ปลาเซนตีอา และกัสตัลลา นอกจากนี้ยังทรงเป็นที่รู้จักในราชสำนักออสเตรียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2357 ว่า เจ้าชายฟรันซ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2361 ว่าดยุกแห่งไรช์ชตัดท์ เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งชาวฝรั่งเศส และอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย

ตามมาตรา 9 ในหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสในขณะนั้นแล้ว ทรงมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแอ็งเปรียาล และยังทรงเป็นที่รู้จักในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโรมตั้งแต่ประสูติอีกด้วย เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่หนึ่งทรงประกาศให้เป็นพระอิสริยยศกิตติมศักดิ์ (courtesy title) สำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ทรงมีพระนามเล่น ๆ ว่า เล-กล็อง (ฝรั่งเศส: L'Aiglon; อินทรีย์หนุ่ม) ซึ่งเป็นพระนามที่ได้รับหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว และต่อมาถูกนำไปเป็นชื่อบทละครอันโด่งดังของเอ็ดม็งด์ โรสต็อง ภายใต้ชื่อ เล-กล็อง เช่นเดียวกัน

เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละราชสมบัติในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2357 ทรงเสนอพระนามพระราชโอรสของพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามนโปเลียนไม่ยอมรับการสืบราชบัลลังก์ดังกล่าว จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จึงถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยปราศจากเงื่อนไขในอีกหลายวันต่อมา ซึ่งแม้ว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 ไม่ได้ทรงปกครองฝรั่งเศสในทางปฏิบัติแต่อย่างใด แต่ก็ถือว่าทรงเป็นจักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศสในนามในปี พ.ศ. 2358 หลังจากการล่มสลายในระบอบการปกครองของพระราชบิดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2395 เมื่อพระญาติของพระองค์ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิและสถาปนาจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง ทรงเลือกใช้พระนามาภิไธยว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 เพื่อเป็นการยอมรับพระราชสถานะของจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 และการครองราชย์ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ของพระองค์

ในช่วงเวลา 20 ถึง 21 นาฬิกาของคืนวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2354 จักรพรรดินีมารี หลุยส์ ทรงรู้สึกเจ็บพระครรภ์แรก นางสนองพระโอษฐ์จึงได้แจ้งให้บรรดาบุคคลสำคัญต่าง ๆ ทราบ อาทิเช่น บรรดาเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งพระราชวงศ์ เจ้านายชั้นสูง รัฐมนตรี เสนาบดีใหญ่แห่งสำนักพระราชวัง เสนาบดีใหญ่แห่งจักรวรรดิ ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารทั้งชายและหญิงในราชสำนัก ต่างพากันมารวมตัวกัน ณ พระราชวังตุยเลอรี ต่อมาในเช้าวันที่ 20 มีนาคม เวลา 9.20 นาฬิกา ได้มีพระประสูติกาลเป็นทารกเพศชายน้ำหนัก 9 ปอนด์ (4.1 กก.) และส่วนสูง 20 นิ้ว (51 ซม.) ทรงได้รับการเจิม (พิธีบัพติศมาแบบย่อตามขนบธรรมเนียมฝรั่งเศส) โดยโฌแซ็ฟ เฟ็สช์ และมีพระนามเต็มว่า นโปเลียน ฟร็องซัว ชาร์ล โฌแซ็ฟ

ต่อมาทรงเข้าพิธีบัพติศมา ซึ่งมีต้นแบบมาจากพิธีบัพติศมาของเจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2354 ณ มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส โดยคาร์ล ฟีลิปป์ เจ้าชายแห่งชวาร์เซินแบร์ก เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ทรงบันทึกกล่าวไว้ว่า :

ต่อมาทรงอยู่ในความดูแลของหลุยส์ ชาร์ลอต ฟร็องซัว เลอ เตลีเย เดอ มงเตสกียู ทายาทของฟร็องซัว-มิเชล เลอ เตลีเย มาร์กี เดอ โลวัวส์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งข้าหลวงแห่งราชโอรสราชธิดาฝรั่งเศส (Governess of the Children of France) และด้วยความเป็นที่รักใคร่และชาญฉลาด ข้าหลวงผู้ดูแลพระองค์จึงได้รวบรวมชุดหนังสือจำนวนมากไว้สำหรับพระราชโอรส เพื่อใช้ในการปูพื้นฐานทางด้านศาสนา ปรัชญา และการกลาโหม

เนื่องจากเป็นพระราชโอรสองค์โตที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รัฐธรรมนูญจึงรับรองพระราชสถานะของพระองค์เป็นเจ้าชายแอ็งเปรียาลและรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง นอกจากนี้จักรพรรดิยังพระราชทานพระอิสริยยศแก่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมอีกด้วย ถึงกระนั้นก็ตาม จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งที่พระองค์เป็นรัชทายาทก็ล่มสลายลงในอีกสามปีถัดมา

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงพบปะกับพระชายา (จักรพรรดินีมารี หลุยส์) และพระราชโอรสของพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2357 และต่อมาในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2357 ก็ทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสวัย 3 ชันษา ภายหลังการทัพหกวัน และยุทธการที่ปารีส เจ้าชายพระองค์น้อยจึงได้ขึ้นเสวยราชย์ด้วยพระนาม นโปเลียนที่ 2 อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2357 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละราชสมบัติโดยครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งสละพระราชสิทธิ์ของพระองค์และรัชทายาทเหนือราชบัลลงก์ฝรั่งเศสด้วย ทั้งนี้สนธิสัญญาฟงแตนโบลปี พ.ศ. 2357 ยังมอบสิทธิ์ในการใช้พระอิสริยยศ เจ้าชายแห่งปาร์มา ปลาเซนตีอา และกัสตัลลา แก่นโปเลียนที่ 2 และพระอิสริยยศ ดัชเชสแห่งปาร์มา ปลาเซนตีอา และกัสตัลลา แก่พระราชมารดาของพระองค์

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2357 พระนางมารี หลุยส์ เสด็จ ฯ ออกจากพระราชวังตุยเลอรีพร้อมกับพระราชโอรส โดยที่หมายแรกก็คือพระราชวังร็องบูเยต์ แต่ด้วยความที่ทรงกลัวกองทหารของฝ่ายศัตรูที่กำลังคืบคลานเข้ามา จึงเสด็จ ฯ ต่อไปยังพระราชวังบลัว ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน พระนางและพระราชโอรสจึงเสด็จ ฯ กลับไปยังพระราชวังร็องบูเยต์ และทรงพบกับพระราชบิดา จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย พร้อมด้วยจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย จากนั้นในวันที่ 23 เมษายน พระนางและพระราชโอรสจึงเสด็จ ฯ ออกจากร็องบูเยต์และฝรั่งเศสไปพำนักลี้ภัยอยู่ที่ออสเตรียเป็นการถาวร ภายใต้การอารักขาของกองทหารออสเตรีย โดยมิมีโอกาสได้เสด็จ ฯ กลับมาอีกเลยตลอดช่วงพระชนม์ชีพที่เหลือ

ในปี พ.ศ. 2358 หลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ในยุทธการที่วอเตอร์ลู จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สละราชสมบัติแก่พระราชโอรสวัย 4 ชันษาเป็นครั้งที่สอง ผู้ซึ่งพระองค์มิได้ทรงพบปะตั้งแต่การเสด็จลี้ภัยไปเกาะเอลบา และหนึ่งวันหลังจากที่สละราชสมบัติ คณะรัฐบาลซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกห้าคนจึงได้เข้ายึดการปกครองของฝรั่งเศสเอาไว้ และเฝ้ารอการเสด็จนิวัติคืนสู่ปารีสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งในขณะนั้นประทับอยู่ ณ เลอ กาโต-ก็องเบรซิ โดยในระหว่างที่ได้ปกครองฝรั่งเศสอยู่เป็นเวลาสองสัปดาห์นั้น คณะรัฐบาลไม่เคยกราบบังคมทูลเชิญจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 อย่างเป็นทางการหรือแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนเลย จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม เมื่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรเคลื่อนพลเข้าสู่กรุงปารีส ความหวังของฝ่ายผู้สนับสนุนจักรพรรดินโปเลียนที่ 2 ในการเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติจึงจบสิ้นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ในออสเตรียกับพระราชมารดาและมีความเป็นไปได้ว่าทรงไม่รับรู้ว่าทรงได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังการสละราชสมบัติของพระราชบิดา

เชื้อพระวงศ์โบนาปาร์ตพระองค์ต่อมาที่ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองฝรั่งเศสก็คือเจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน พระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งฮอลล์แลนด์ พระอนุชาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2395 โดยใช้พระนามว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2357 เป็นต้นมา เจ้าชายนโปเลียนทรงใช้พระชนม์ชีพอยู่ในออสเตรียและทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม ฟรันซ์ ซึ่งเป็นชื่อที่ทรงได้รับมาเป็นชื่อที่สอง ในปี พ.ศ. 2361 ทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งไรช์ชตัดท์ ซึงเป็นอิสริยยศที่ได้รับสืบทอดมาจากพระราชอัยกา (ตา) ฝ่ายพระราชมารดา จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 เจ้าชายฟรันซ์ทรงได้รับการศึกษาจากครูผู้สอนจากกองทัพ จึงทำให้พระองค์มีความสนพระทัยด้านการทหารในเวลาต่อมา ทรงแต่งกายด้วยชุดทหารจำลองและเล่นแปรแถวกองทหารในบริเวณพระราชวัง จนกระทั่งเจริญพระชันษาได้ 8 ชันษา จึงเป็นที่ปรากฏแน่ชัดแก่คณาอาจารย์ของพระองค์ว่าจะทรงเลือกอาชีพทางด้านการทหาร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2363 เจ้าชายฟรันซ์ทรงสำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาและเริ่มเข้ารับการฝึกทางทหาร ทรงเรียนรู้ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และคณิตศาสตร์ เช่นเกียวกับการฝึกทางกายภาพขั้นสูง และในปี พ.ศ. 2366 ทรงเข้ารับราชการทหารอย่างเป็นทางการด้วยวัย 12 ชันษา หลังจากที่ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักเรียนายร้อยทหารแห่งกองทัพออสเตรีย ซึ่งจากคำบอกเล่าของคณาจารย์ผู้ฝึกสอน พระองค์ทรงมีบุคคลิกที่เฉลียวฉลาด จริงจัง และมุ่งมั่น นอกจากนี้ยังทรงมีรูปร่างที่สูงใหญ่ ด้วยวัย 17 พรรษา ทรงสูงเกือบ 6 ฟุต (180 ซม.)

ทั้งนี้พระกรณียกิจด้านการทหารของพระองค์สร้างความกังวลและความชื่นชมแก่บรรดาพระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรปรวมถึงผู้นำของฝรั่งเศส และยังเปิดโอกาสความเป็นไปได้ว่าพระองค์จะนิวัติกลับสู่ฝรั่งเศสอีกครั้ง อย่างไรก็ตามทรงไม่ได้รับพระราชานุญาตให้ข้องเกี่ยวกับการเมือง แต่ทรงถูกเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี) เคลเมินส์ ฟอน เมทเทอร์นิช ใช้พระองค์เป็นข้อต่อรองกับฝรั่งเศสเพื่อความได้เปรียบของออสเตรียแทน เมทเทอร์นิชเกรงกลัวว่าเชื้อพระวงศ์โบนาปาร์ตจะกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ถึงขนาดที่ว่าไม่อนุญาตให้เจ้าชายฟรันซ์ได้มีโอกาสเปลี่ยนที่ประทับไปยังภูมิภาคที่มีสภาพอากาศอบอุ่นกว่าอย่างอิตาลีเลย นอกจากนี้พระอัยกาของพระองค์ยังทรงปฏิเสธคำกราบบังคมทูลขอพระราชานุญาตไปปฏิบัติกรณียกิจด้านการทหารเพื่อร่วมปราบปรามกลุ่มกบฏในอิตาลีอีกด้วย

จากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาบุญธรรม นายพลอาดัม อัลเบิร์ท ฟอน ไนพ์แพร์ก และการเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ว่าพระมารดาของพระองค์มีพระบุตรก่อนการเสกสมรสซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายกับเจ้าชายอาดัม 2 พระองค์ เจ้าชายฟรันซ์จึงทรงห่างเหินกับพระมารดามากขึ้นเรื่อย ๆ และทรงรู้สึกว่าพระราชวงศ์ออสเตรียของพระองค์กำลังยื้อยุดพระองค์เอาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งนี้พระองค์ได้ตรัสกับพระสหาย นายพลอันทอน ฟอน พรอเคช-โอสเทิน ว่า "ถ้าหากพระนางโฌเซฟีนเป็นพระราชมารดาของเรา พระราชบิดาก็คงจะไม่ต้องถูกฝัง ณ เกาะเซนต์เฮเลนา และเราก็คงไม่ต้องประทับอยู่ที่เวียนนา พระราชมารดาของเรา (พระนางมารี หลุยส์) มีพระจริยวัตรที่เมตตาแต่อ่อนแอ พระนางทรงมิใช่พระชายาอันคู่ควรของพระราชบิดา"

ในปี พ.ศ. 2374 เจ้าชายฟรันซ์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพันทหารออสเตรีย แต่ก็ไม่เคยได้รับโอกาสให้ทรงบัญชาการอย่างจริงจังสักครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2375 พระองค์ประชวรด้วยอาการพระปัปผาสะ (ปอด) บวม ทำให้ต้องประทับอยู่บนแท่นพระบรรทมนานหลายเดือน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2375 ด้วยพระพลานามัยที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เจ้าชายฟรันซ์จึงสิ้นพระชนด้วยวัณโรค ณ พระราชวังเชินบรุนน์ในกรุงเวียนนา ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์โดยปราศจากรัชทายาท ส่งผลให้การอ้างสิทธิ์เหนือราชบัลลังก์ฝรั่งเศสสายโบนาปาร์ตตกเป็นของพระญาติคือ เจ้าชายหลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งภายหลังทรงสามารถฟื้นฟูจักรวรรดิฝรั่งเศสขึ้นมาได้สำเร็จ และครองราชสมบัติในฐานะ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส

ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2483 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สั่งให้เคลื่อนย้ายพระศพของนโปเลียนที่ 2 จากกรุงเวียนนามาฝั่งไว้ที่เลแซ็งวาลีด กรุงปารีส ส่วนพระศพของนโปเลียนที่ 1 ถูกนำกลับมายังฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2383 ในช่วงของราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม โดยที่พระศพของเจ้าชายถูกฝังไว้เคียงข้างกับพระราชบิดาเป็นช่วงเวลาสักระยะหนึ่ง แต่ต่อมาพระศพถูกย้ายลงไปยังโบสถ์ส่วนล่างแทน

ในขณะที่พระศพส่วนมากของเจ้าชายฟรันซ์ถูกเคลื่อนย้ายไปฝัง ณ ปารีส แต่ยังคงอวัยวะบางส่วนคือพระหทัย (หัวใจ) และพระอันตคุณ (ลำไส้เล็ก) ฝังไว้ที่เวียนนาตามธรรมเนียมของสมาชิกราชวงศ์ฮับส์บูร์ก โดยพระหทัยฝังไว้ในโกศที่ 42 ณ แฮร์ซกรุฟท์ (เยอรมัน: Herzgruft; ห้องชั้นใต้ถุนของโบสถ์ซึ่งใช้ฝังหัวใจ) ส่วนพระอันตคุณฝังไว้ในโกศที่ 76 ณ แฮร์โซกส์กรุฟท์ (เยอรมัน: Herzogsgruft; ห้องชั้นใต้ถุนของโบสถ์ซึ่งใช้ฝังพระศพของดยุก)

นอกจากนี้ยังทรงเป็นที่จดจำจากมิตรภาพของพระองค์กับเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย เชื้อพระวงศ์วิตเตลส์บาค ผู้ปราดเปรื่อง ทะเยอทะยาน และหัวแข็ง ซึ่งเจ้าหญิงโซฟีทรงมีพระจริยวัตรที่ไม่ค่อยเหมือนกับพระสวามี อาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ล นอกจากนี้ยังมีข่าวลือด้วยว่าทั้งเจ้าชายฟรันซ์และเจ้าหญิงโซฟีทรงมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวระหว่างกัน และพระโอรสองค์ที่สองของพระนาง จักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโก (ประสูติ พ.ศ. 2375) คือผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180